วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ร่วมมือกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน พัฒนางานสร้างกำลังคนอาชีวะ

วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ร่วมมือกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน พัฒนางานสร้างกำลังคนอาชีวะ

       วันพฤหสับดีที่ 18 มิถุนายน 2563 นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เป็นประธานร่วมพิธีลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลง (MOU) ทางวิชาการร่วมกับกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและช่างซ่อมอากาศยาน ณ ห้องประชุมเวียนมา อาคารปฏิบัติการฯ เวียนมาพาราไดซ์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

         นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา เป็นประธานร่วมพิธีลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลง (MOU) ทางวิชาการร่วมกับกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและช่างซ่อมอากาศยาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานภาคอุตสาหกรรมในเชตพัฒนาเศคณฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน และช่างซ่อมอากาศยาน ที่วิทยาลบัยเทคนิคสัตหีบนำรองในปีการศึกษา 2563 ซึ่งมีนายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา พร้อมด้วย ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก(EEC-HDC) นาย ไซมอน เจฟฟีย์เชลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฎิบัติงาน บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซ(ไทยแลนด์)จำกัด นายจิระพงษ์ จันทร์ประเสริฐ รองผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวะศึกษาภาคตะวันออก นางอรทัน โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ พร้อมคณะครูอาจารย์ร่วมในพิธี

         นายณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษา ได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินได้แก่ บริษัท ซีเนียร์ แอโรสเปซ (ไทยแลนด์)จำกัด บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด  และ สนามบินหนองปรือ ในการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์สนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการการฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาวิชาการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน สาขาวิชาช่างซ่อมอากาศยาน และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบิน เพื่อพะฒนานักเรียน นักศึกษา ครูและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ให้มีศักยภาพ ประสิทธิภาพ และทักษะด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รวมถึงการได้รับประสบการณ์จากการฝึกปฎิบัติงานจริงในสถานประกอบการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีสมรรถนะวิชาชีพที่ตรงตามมาตรฐานโดยวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในลักษณะของ”สัตหีบโมเดล”คือการจับคู่การเรียนการสอนระหว่างวิทยาลัยและสถานประกอบการโดยวิทยาลัยจะมีหน้าที่คัดสรรสาขาวิชา ร่วมกับสถานประกอบการใน EEC ที่มีเครื่องมือความรู้บุคลากรที่มีความชำนาญการโดยมีการประเมิณความสามารถในการผลิตกำลังคนอาชีวะเข้าสู่ตลาดในพื้นที่EECเพื่อรองรับ10กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในปี2564

          นาย ไซมอน เจฟฟีย์เชลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฎิบัติงาน บริษัท ซีเนียร์ แอโรสแปซ(ไทยแลนด์)จำกัดกล่าวว่าบริษัทเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานมากว่า15ปีโดยบริษัทได้เตรียมความพร้อมในหลายด้าน หลังขานรับนโยบายรัฐที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินและอากาศยานชั้นนำของภูมิภาคเอเชียด้วยการเพิ่มไลน์โรงงานผลิตเพื่อรองรับโปรเจค “สัตหีบโมเดล” โดยตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศดังกล่าวกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อสร้างบุคคลากรแรงงานทักษะสูงด้านอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ผลิตนักศึกษาระบบทวิภาคี

          ด้าน ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก(EEC-HDC) กล่าวว่า การพัฒนากำลังคนอาชีวะศึกษาสู้ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ เป็นปัญหาใหญ่ในการพัฒนาประเทศสวนทางกับความต้องการของภาคการผลิตที่กำลังพัฒนาและอยู่ในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจทั้งโลกกำลังปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 จากกระทรวงแรงงานเผยว่าส่วนที่มีการขาดแคลนมากที่สุดคือ ”แรงงานฝีมือด้านเทคนิค” โครงการ ”สัตหีบโมเดล”ถือว่าเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาบุคลากรการศึกษาวิจัยและเทคโนโลยี

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 168,321