รองผู้ว่าฯ ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

รองผู้ว่าฯ ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก

       วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมคณะหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ณ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมีนายวีระพล สุดชาฏา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัตการฝนหลวงภาตะวันออก ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปผลการปฏิบัติการที่ผ่านมา

      นายวีระพล สุดชาฏา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัตการฝนหลวงภาตะวันออก เปิดเผยว่า ตามที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ตั้งศูนย์ปฏิบิตัการฝนหลวงภาคตะวันออก ที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง และเพิ่มปริมาณน้ำให้กับแหล่งเก็บน้ำต่างๆ เติมน้ำในการอุปโภคและบริโภคให้แก่ประชาชน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม โดยมีแผนจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป โดยใช้เครื่องบินเซสน่า คาราแวน จำนวน 3 ลำ สำหรับปฏิบัติการครั้งนี้ 

      สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมี่อวันที่ 9 – 31 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ได้ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 11 วัน 40 เที่ยวบิน (59.50 ชั่วโมง) มีปริมาณฝนตกคิดเป็นร้อยละ 81 ซึ่งได้รับรายงานว่ามีฝนตก 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพมหานคร ฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำประแสร์  

      จากนั้นศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงได้ปฏิบัติการระหว่างวันที่ 3 – 19 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 5 วัน 13 เที่ยวบิน (18.25 ชั่วโมง) มีปริมาณฝนตกคิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งได้รับรายงานว่ามีฝนตก 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และฉะเชิงเทรา ฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำประแสร์ 

       นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า สำหรับจังหวัดชลบุรีนั้น ยังไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากจังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำอยู่ 13 แห่ง การปฏิบัติการฝนหลวงต้องอาศัยเมฆแต่พื้นที่ของภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง มีอากาศแปรปรวน ในเรื่องของลมแรง เมฆไม่สามารถพัฒนาตัวได้ และไม่เหมาะกับการปฏิบัติการฝนหลวง ส่งผลกระทบจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งชลบุรีอ่างเก็บน้ำที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญก็คืออ่างเก็บน้ำบางพระ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคของชุมชนเมือง และอุตสาหกรรมเป็นหลัก ประกอบกับบริษัท การบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก หรือ อีสวอเตอร์ มีการบริหารจัดการน้ำในส่วนของ 4 - 5 อ่าง ซึ่งมีการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ ทำให้การใช้น้ำมีการหมุนเวียนให้สู่ประชาชนโดยที่ไม่ขาดแคลน ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำบางพระ หนองปลาไหล ดอกกราย และหนองใหญ่ หากเราปฏิบัติการฝนหลวงให้ฝนตกลงอ่างใดอ่างหนึ่ง ก็สามารถที่จะกระจายน้ำทั่วไปได้ทั้ง 4 อ่าง นี้เป็นการบริหารจัดการน้ำที่ดี ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเดือดร้อน

        ส่วนในพื้นที่ของการเกษตรของจังหวัดชลบุรี มีการทำการเกษตรอยู่ ได้แก่ อำเภอบ้านบึง สัตหีบ บางละมุง หนองใหญ่ บ่อทอง ส่วนใหญ่ที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และสัปรด ค่อนข้างหน้าเป็นห่วง หากสภาพอากาศเหมาะสม พร้อมขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงทันที

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

 

 

 

 

 

 

Visitors: 172,210