กรมปศุสัตว์ลงพื้นที่เกาะสีชังนำร่อง ติดตาม ผลักดัน เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

  

  

  

กรมปศุสัตว์ลงพื้นที่เกาะสีชังนำร่อง ติดตาม ผลักดัน เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า

           วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2565 กรมปศุสัตว์ ติดตาม ผลักดัน พื้นที่นำร่องอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า โดยมีนายสมศักดิ์ จุฑาวงศ์กุล นายอำเภอเกาะสีชัง พร้อมด้วยปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล เจ้าหน้าที่อำเภอ และเจ้าหน้าที่เทศบาลให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

           กรมปศุสัตว์ โดยสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ปศุสัตว์เขต 2 ปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย นายอำเภอเกาะสีชัง เทศบาลอำเภอเกาะสีชัง ศูนย์ประสานงานสุขภาพหนึ่งเดียว กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย (CDC Thailand) ท้องถิ่นจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด องค์กรพิทักษ์สัตว์โลก (World animal Protection) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมติดตามและผลักดันการสร้างพื้นที่เกาะสีชังให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่ไม่พบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 ปี ซึ่งปัจจุบันพื้นที่อำเภอเกาะสีชังเป็นหนึ่งในพื้นที่คัดเลือกนำร่องผลักดันให้สามารถประเมินรับรองเป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าให้สำเร็จภายในปีงบประมาณ 2565 ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในคู่มือ การสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ปีงบประมาณ 2565

          สำหรับการดำเนินงานด้านโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เกาะสีชังได้มีการประสานการดำเนินงานกันในหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน  ในโอกาสนี้ทางกรมปศุสัตว์จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมลงพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะสีชัง เพื่อประสานกำลังในการผลักดันให้พื้นที่นี้สามารถประเมินและรับรองเป็นพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าได้ และส่งผลให้พื้นที่เกาะสีชังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า เป็นอีกจุดเด่นที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

          ทั้งนี้การลงพื้นที่ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านโรคพิษสุนัขบ้าของหลายๆภาคส่วน รับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากในพื้นที่ และเก็บข้อมูลในด้านต่างๆของโรคพิษสุนัขบ้า ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจความรู้ ทัศนคติ และแนวทางการปฏิบัติด้านโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ได้จะไปช่วยสนับสนุนการผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในอนาคตให้สำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้โดยเร็วที่สุด   

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 172,762