คณะกรรมาธิการการ เยี่ยมชมการจัดการสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

  

  

  

  

คณะกรรมาธิการการ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีศึกษาดูงานการจัดการสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

        วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 นายศักดินัย นุ่มหนู ประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ เดินทางมาศึกษาดูงาน เรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย"เป็นประธาน ณ ห้องประชุมสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยมีนางสาวธารารัตน์ โพธิ์ศรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย คณะเจ้าหน้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง คณะเจ้าหน้าที่ศุลกากร หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ร่วมให้การตอนรับ

      จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของจังหวัดชลบุรี ณ ราคาประจำปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 1,009 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นภาคอุตสาหกรรม สัดส่วนร้อยละ 54.46 ภาคบริการ สัดส่วนร้อยละ 38.14 และภาคเกษตร คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 1.90 จังหวัดชลบุรีมีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสมสำหรับ การค้าขายทางทะเล ส่งผลให้ปัจจุบันจังหวัดได้รับการวางแผนให้เป็น เมืองหลักทางด้านอุตสาหกรรม และการค้าขายของภาคตะวันออก มีท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศไทย รองจาก ท่าเรือกรุงเทพฯ

       สำหรับท่าเรือแหลมฉบังเป็นโครงการที่สำคัญของเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จัดได้ว่าเป็นประตูการค้าสำคัญของ จังหวัดชลบุรีและประเทศไทย เป็นจุดส่งออกและนำเข้าสินค้า หลากหลายประเภทจากทุกมุมโลก มีปริมาณการนำเข้าและส่งออก สินค้าในแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ศักยภาพ ให้พร้อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การพัฒนาระบบตรวจสอบสินค้า การจัดการด้านความปลอดภัย

        ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างขยายท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 กำหนด แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจะสามารถขยายขีดความสามารถ การรองรับตู้สินค้า จากเดิม 11.1 ล้านทีอียูต่อปี เป็น 18.1 ล้านทีอียูต่อปี การประชุมหารือในวันนี้มีส่วนราชการมาร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและ แสดงความคิดเห็น เชื่อว่าข้อมูลและข้อคิด เห็นที่ได้จาก คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ และข้อมูลความคิดเห็นจาก ส่วนราชการต่างๆ ในวันนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญให้รัฐบาลในการพัฒนา แนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เพื่อปกป้องสินค้าเกษตรและเกษตรกรไทย อันเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประ เทศให้เจริญเติบโตต่อไป

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 177,335