ชลบุรี จัดงานประเพณีวิ่งควาย ครั้งที่ 151

 

  

  

  

ชลบุรี จัดงานประเพณีวิ่งควาย ประจำปี 2565 จังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 151

        วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดงานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประจำปี 2565 “หนึ่งเดี่ยวในไทย หนึ่งเดี่ยวในโลก” ณ เวทีกลางสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมีนายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นางสาวฐิติลักษณ์ คำพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายอำนาจ เจริญศรี ปลัดจังหวัดชลบุรี ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุติกรณ์ จำเริญพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชลบุรีหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรมในวันนี้

        งานประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี เป็นประเพณีคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดชลบุรี มานาน มากว่าร้อยปี โดยทุกปีก่อนออกพรรษา 1 วัน คือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เกษตรกรชาวชลบุรีจะนำควายมาวิ่งแข่งขันกัน ณ บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทาราม ตามความเชื่อที่ว่า ถ้านำควายมาวิ่ง ควายจะมีสุภาพดี ไม่เป็นโรคระบาด แต่ถ้าปีใดมิได้จัดงานประเพณีวิ่งควาย ปีนั้นความจะเป็นดรคระบาดกันมากผิดปกติ เพราะวิญญาณบรรพชนห่วงว่าประเพณีอันดีงามนี้จะสูญสลาย จึงดลบันดาลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ขึ้น

          ปัจจุบันบริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามมีความหนาแน่น สถานที่ไม่อำนวยแก่การจัดงานประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรีและเทศบาลเมืองชลบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของานประเพณีวิ่งควาย ซึ่งถือเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวในไทย หนึ่งเดียวในโลก ซึ่งได้อนุรักษ์และรักษาประเพณีนี้ไว้ โดยในปี 2565 นี้ นับเป็นครั้งที่ 151 ของการจัดงาน และกำหนดจัดงานขึ้น ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี และสนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี ซึ่งในวันที่ 9 ตุลาคม 2565 เป็นวันวิ่งควาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีวิ่งควาย ซึ่งเป็นประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดชลบุรี ได้ร่วมกันอนุรักษ์ความไทยโดยเฉพาะความวิ่งไม่ให้สูญพันธุ์ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการเลี้ยงดูความชลบุรีการใช้สมุนไพรดูแลสุขภาพควาย และการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับควาย เพื่อส่งเสริมการแข่งขันกีฬาไทย กีฬาพื้นบ้าน และร่วมกันอนุรักษ์เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดชลบุรี และของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น มีรายได้เพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มอาชีพ และร่วมกันอนุรักษ์เกวียนกัณฑ์ ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

           นอกจากนี้ภายในงาน ได้จัดกิจกรรมประกอบด้วย การแห่ริ้วชยวนเกวียนกัณฑ์ ริ้วขบวนคำขวัญจังหวัดชลบุรี การแข่งขันวิ่งควาย จำนวน 5 รุ่น ได้แก่ รุ่นซุปเปอร์จิ๋ว รุ่นจิ๋วพิเศษ รุ่นจิ๋วเล็ก รุ่นจิ๋วกลาง และรุ่นจิ๋วใหญ่ การประกวดความงาม ความพ่อพันธ์ – แม่พันธุ์ การประกวดน้องนางบ้านนา การประกวดสาว (เหลือ) น้อยบ้านนา และการแข่งขันกีฬาไทยพื้นบ้านประเภทต่างๆ เช่น ตะกร้อลอดห่วง ปีนเสาน้ำมัน เป็นต้น

         นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า คำว่า “วิ่งควาย” ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2555 ประเภทกีฬาภูมิปัญญาไทย ซึ่งมีรูปแบบเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนเป็นประเพณีท้องถิ่นคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดชลบุรี เห็นได้จากากรที่เกษตรกร ตกแต่งควายของตนเองให้สวยงาม ซึ่งถือเป็นการทำขวัญควาย และเกษตรกรที่อยู่ทั่วทุกสารทิศของจังหวัดชลบุรี ได้มีโอกาสมาพบประสังสรรค์และเปลี่ยนเรียนรู้ กล่าวได้ว่า งานประเพณีวิ่งควายในวันนี้ ถือเป็นวันนัดพบของเกษตรกรซึ่งได้รับคำยกย่องว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่เดิมในอดีต เกษตรกรจะนำควายบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรมาขาย เวลากลังก็ซื้อข้าวของกลับไปทำบุญยังวัดใกล้บ้าน เมื่อมาถึงบริเวณตลาดท่าเกวียนก็จะนำวัวควายไปพักกินน้ำ เล่นน้ำที่สระน้ำใหญ่ หลังจากที่วัวควายกินน้ำและเล่นน้ำเป็นที่พอใจแล้วก็จะขี่ควายกลับมายังตลาดท่าเกวียน ขณะที่เกษตรกรขี่ควายกลับก็มีการวิ่งแข่งควายของตนมายังที่ตลาดท่าเกวียน เมื่อมีผู้พบเห็นก็เกิดความสนุกสนาน ให้มีการจัดแข่งขันวิ่งควายขึ้นทุกปี

      นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 เสด็จประพาสเมืองชลบุรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2455 พระยาวิเศษฤาไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้จัดการแข่งขันวิ่งควายถวายทอดพระเนตร ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี มีหลักฐานปรากฏในพระราชกิจรายวัน กรมราชเลขาธิการ ปัจจุบันจังหวัดชลบุรีเปลี่ยนสภาพจากเมืองเกษตรกรรมมาเป็นเมืองอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากอิทธิพลและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่องานประเพณีวิ่งควายบ้าง อย่างไรก็ตาม งานประเพณีวิ่งควาย จะคงอยู่คู่กับจังหวัดชลบุรี และสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพชน ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดชลบุรีสืบไป

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 173,667