ชลบุรี จัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21

 

  

  

ชลบุรี จัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21

          วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2565  นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ให้การตอนรับ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คณะอาคันตุกะ 17 ประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย International Folklore Festival (ThailandIFF) ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยมีคณะข้าราชการกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ให้การต้อนรับ

         นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นางสาวประภัสรา ศรีทอง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ นายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายอำนาจเจริญศรี ปลัดจังหวัดชลบุรี ร่วมต้อนรับนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และคณะอาคันตุกะที่เข้าร่วมโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย International Folklore Festival (ThailandIFF) ประเทศสมาชิกคือ มหาวิทยาลัย สถาบันทางสถาบันการศึกษา โรงเรียน องค์กร นิติบุคคลทางศาสนา และองค์กรที่ยูเนสโกรับรองและที่น่าเชื่อถือทั่วโลก 36 ประเทศ โดยมีผู้แทนแต่ละประเทศนำคณะศิลปินจำนวนประเทศละ 16 คน รวม 250 คน มาร่วมกระบวนการกระตุ้นเศรษฐกิจ การศึกษา สังคมวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้เงื่อนไข "บวร" (บ้าน-วัด-โรงเรียน ราชการ) ตามแนวพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9

          สำหรับโครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย International Folklore Festival ในปีนี้ เป็นการจัดเทศกาลครั้งที่ 21 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน 2565 ครอบคลุมพื้นที่ 18 วัดใน 8 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สุรินทร์ นครราชสีมา สกลนคร ยโสธร บุรีรัมย์ มหาสารคาม และชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดเป็นจังหวัดสุดท้าย ในโอกาสนี้ คณะผู้จัดงานยังได้ประกาศให้พระมหาธาตุเจดีย์ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชลบุรี เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยให้ อาคันตุกะจาก 5 ประเทศเป็นผู้เซนรับรอง และมอบรางวัลให้กับพระสังคม ธนปัญโญ  ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งมอบโล่รางวัล “บุลคลแห่งสันติภาพโลก” และรางวัลไดม่อน ออฟ เอเชีย (Dimond of Asia) ให้กับพระครูวิฑูรธรรมนิเทศ และพระอาจารย์ ดร.สังคม ธนปัญโญ มอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติให้กับกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี อีกด้วย

       ด้านนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวต้อนรับคณะอาคันตุกะศิลปินนานาชาติ 17 ประเทศพร้อมนำเสนอภาพรวมในปัจจุบันจังหวัดชลบุรี ว่าเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจ มั่งคั่งมั่นคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด เป็นลำดับที่ 3 รองจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดระยอง และเป็นแหล่งที่น่าลงทุน เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่รู้จักของนักลงทุนทั่วโลก ในฐานะพื้นที่ชั้นนำในการพัฒนาอุตสาหกรรมของอาเชียน มีโรงงานอุตสาหกรรม มากกว่า 4,000 โรงงาน การมีนักลงทุนทั่วโลกอยู่ในพื้นที่ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ จังหวัดชลบุรีเป็น 1ใน 3 ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ร่วมกับจังหวัดระยองและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางถนน รถไฟ ท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้ง ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของอาเซียน จังหวัดชลบุรีมีการพัฒนาในเรื่องของการเป็นเมืองแห่งการจัดประชุมและสัมมนา (MICECity) เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และเป็นเมืองกีฬา (Sport City) สำหรับคนทั่วไปแล้ว จังหวัดชลบุรีเป็นที่รู้จัก ในฐานะเมืองตากอากาศชายทะเลที่ใกล้กรุงเทพฯ โดยเฉพาะหาดบางแสน และพัทยา ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศต่างก็เดินทางเข้ามา สัมผัสความสวยสดงดงามของชายทะเลตะวันออกอันมีมนต์เสน่ห์แห่งนี้ จังหวัดชลบุรียังมีประเพณี ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก คือ ประเพณีวิ่งควาย ซึ่งได้นำมาจำลอง ให้ทุกท่านได้ถ่ายภาพในวันนี้ และหนึ่งในอาหาร ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรี คือ ข้าวหลามหนองมน โดยได้นำมาให้ทุกท่านได้รับประทานเช่นกัน

ปริญญา/ข่าว/ภาพ

Visitors: 176,152